วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการส่งภาพขาย

ก่อนอื่น มารู้จัก กับ Photostock ก่อนนะครับ Photostock หรือ มีบางคนก็เรียกว่า Microstock ซึ่งนั่นการคือ การขายภาพ ผ่านตัวแทน โดยการที่เราอัพโหลดภาพ เพื่อสร้างเป็น Portfolio หรือหน้าร้าน ไว้กับ ตัวแทนนั้น ไม่ว่าจะเป็น Shutter stock, Istock หรือ fotolia เป็นต้น



โดยที่ช่างภาพ Stock จะได้ค่าตอบแทนเป็น ค่าคอมมิชชั่น อยู่ระหว่าง 0.25$ หรือ มากกว่านั้น แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละตัวแทน (บางภาพอาจขายได้มากกว่า 100$) โดยภาพทุกภาพที่เราขายไปนั้นเป็น การขายสิทธิในการใช้งาน ดังนั้น หากภาพที่ ดาวน์โหลด ไปใช้แล้ว สิทธิในภาพยังเป็นของเรา และเรายังคงสามารถขายสิทธิ์ในการใช้งานภาพนั้นไปเรื่อยๆ หากภาพนั้นเป็นภาพที่ดี และเป็นที่ต้องการ อย่างภาพนี้ของผม เป็นภาพขายดีที่สุดของผม และยังมียอดขายอย่างต่อเนื่อง.


http://www.shutterstock.com/pic.mhtml?id=167863871
หนึ่งในภาพขายดี



ขายภาพได้แค่ 0.25$  แค่นั้น แล้วมันจะคุ้มมั้ย? หากมองงานนี้เป็นธุรกิจ ในมุมมองผม มันเป็นการสร้างธุรกิจ ระยะยาวครับ ทำมากได้มาก ใส่ใจก็ได้เงินเร็ว แต่ถ้าทำเล่นๆ เป็นงานอดิเรก แล้วได้เงินมันก็ไม่เสียหายใช่มั้ยครับ ?


ยอดขายเปรียบเทียบ ทำเล่นๆ กับ ทำจริง

จาก กราฟนี้ เป็นผลการทำงาน 1 ปีของผม (ซึ่งยังถือว่าเป็นมือใหม่หัดขับเหมือนกัน) ช่วงครึ่งปีแรกผมมองมันเป็นงานอดิเรกครับ ไม่มีแผน ถ่ายภาพส่งไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ยอดขายจึงต่ำเตี้ยอย่างที่เห็น

แต่พอได้ศึกษาเข้ากลุ่มพี่ที่เค้าทำเป็นอาชีพ ทำให้มีแรงผลัก ทำจริงจัง ตั้งเป้าหมาย 3 เดือนหลังจากนั้นยอดก็เพิ่มขึ้น

รายได้ก้อนแรกจาก Shutterstock


เหตุผลของผมที่ทำงานนี้

  • อย่างแรกเลย การถ่ายภาพ เป็น สิ่งที่ผมชอบ และเป็นงานอดิเรก ภาพถ่ายส่วนใหญ่ ถ่ายเสร็จ ก็เก็บไว้ดูเอง ดูกันในครอบครัว แบ่งปันใน Socail Network สิ่งที่ทำประจำเหล่านี้ไม่ได้สร้างรายได้ แต่หากนำภาพเหล่านี้ไปไว้ใน Portfolio ของ ตัวแทนต่างๆ ภาพเหล่านั้นสร้างรายได้ให้กับผม
  • พัฒนาฝีมือในการถ่ายภาพ อย่างมืออาชีพ งานภาพ Stock ส่วนใหญ่ จะถูกนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ ดังนั้น ภาพบางภาพที่เราคิดเอาเองว่าสวย แต่จริงๆ มันอาจเป็นภาพที่ยังไม่สมบูรณ์ก็ได้ ตัวแทนต่างๆ ที่รับภาพของผมไปไว้บน Portfolio จะมี Inspector คอยตรวจภาพของเรา และให้ คำแนะนำ ที่เป็นประโยชน์ ที่ผมสามารถนำมาพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของผมได้
  • สุดท้าย ได้แข่งขันไม่ใช่กับคนอื่นนะครับ แต่ การได้แข่งขันกับตัวเอง การคิดงานใหม่นำเสนอลูกค้า เป็นสิ่งท้าท้าย การผลักงานอดิเรก ให้เป็น งานประจำ นั่นเป็นสิ่งท้าทายยิ่งกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีคนทำสำเร็จมาแล้ว และนั่นเป็นเป้าหมายที่สำคัญของผม ส่วนว่าจะมันจะไปได้ไกลแค่ไหน ผมขอบอกเล่าต่อไปใน Blog นี้

ผลงานที่ลูกนำไปใช้งานจริง

เทคนิคในการถ่ายภาพ เพื่อส่ง Stock

หลังจาก ส่งภาพไปยัง ตัวแทนที่มีชื่อเสียง 5 - 6 ราย ทำให้ผมได้ประสบการณ์อย่างมากในการถ่ายภาพ เพื่อส่งขาย นี่เป็นเทคนิคที่ผมใช้

  1. ในฐานะมือใหม่ผมแนะนำ ให้สมัคร กับตัวแทน ให้มากกว่า 1 แห่งครับ เพราะ ตัวแทนแต่ละรายจะมีฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน บางครั้ง ภาพที่เราส่งไปยังตัวแทนเจ้าหนึ่งอาจไม่ผ่าน แต่ตัวแทนอีกเจ้า อาจรับภาพนั้นอาจขายได้
  2. ภาพที่ถูกปฏิเสธจากตัวแทนเจ้าหนึ่ง ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าภาพนั้นเป็นภาพที่ใช้ไม่ได้ หรือเป็นภาพไม่ดี แต่อาจข้อผิดพลาดเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นในภาพเมื่อ เมื่อตรวจภาพ Full size (ขยายภาพ 100%) ดังนั้น ทุกภาพที่จะส่งควรทำการตรวจสอบภาพ แบบ Full size ทุกครั้งนะครับ
ปัญหาที่พบบ่อย
  • ปํญหา โฟกัส กรณีคุณไม่แน่ใจว่าภาพที่จส่งนั้นอาจ ไม่คมพอ แนะนำให้ทำ การขนาดภาพ (Resize) ภาพนั้นลง ก็ช่วยทำให้ภาพนั้น ผ่านการตรวจได้ง่ายขึ้น
  • ปัญหา Noise ภาพที่มี Noise ส่วนใหญ่เกิดจาก การกำหนดค่า ISO ของกล้อง ดังนั้นควรกำบดค่า ISO ต่ำที่สุด คือ 100 - 200 ครับ นอกจากนี้ อาจยังไม่พอ และยัง Noise ในภาพ โปรแกรม อย่าง Lightroom ก็มีฟังก์ชั่น ในการ ลด Noise ได้ครับ
  • อย่า Crop ภาพให้ดูให้แน่นเกินไป ลูกค้าส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ หรืองานโฆษณา ดังนั้นภาพที่มีพื้นที่สำหรับใส่ข้อความโฆษณาลงไป มีโอกาสผ่านง่ายกว่าภาพที่ทุก Crop จนดูแน่นไปหมด
  • อย่าส่งภาพ ที่เหมือนกัน หรือมีมุมเดียวกัน ส่งเพื่อตรวจพร้อมกันในคราวเดียว เพราะอาจโดนปฏิเสธทั้งหมดก็ได้ ดังนั้น การส่งภาพในแต่ละครั้ง ต้องมีความหลากหลาย สถานที่เดียวกันอาจมีมุมมองที่แตกต่าง
  • ถ่ายภาพในมุมมองที่แตกต่างไป ตัวแทนโดยส่วนใหญ่ จะมีภาพบางประเภทเยอะอยู่แล้ว เช่น ดอกไม้ หรือแมลง ดังนั้น ภาพเหล่านี้อาจโดนปฏิเสธได้ง่าย หากภาพนั้นไม่มีความแตกต่างจาก งานที่ ตัวแทนเหล่านั้นมีอยู่ ดังนั้น ความคิดสร้างสรรเป็นสิ่งสำคัญ และท้าทาย
  • สุดท้ายคือเรื่องของรายได้ จากที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น คุณภาพงาน กับปริมาณภาพ และความต่อเนื่องในการส่งงาน มีผลต่อรายได้ ทำมากได้มาก ทำน้อยก็ได้น้อยครับ

และ นี่เป็นเทคนิคเล็กน้อย หากทีเทคนิคใหม่ ผมจะนำมาบันทึกเพิ่มเติมต่อไป ขอบคุณครับ

1 ความคิดเห็น: